เสม็ดแดง
เสม็ดแดงปลูกในสวนสมุนไพร หรือ ให้ร่มเงาในบ้านแข็งแรงและ ดูแลง่าย โดยยอดอ่อน ลวก หรือกินกับผักกับน้ำพริก มีรสเปรี้ยวอมฝาด ใบใช้รับประทานเป็นผักสด กินกับน้ำพริก ขนมจีนหรือข้าวยำเสม็ดแดง |
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Syzygium gratum Wight S.N. Mitra var. gratum
ชื่อสามัญ : -
วงศ์ : Myrtaceae
ชื่ออื่น : ผักเสม็ด, ผักเม็ก (นครราชสีมา); ไคร้เม็ด (เชียงใหม่); เม็ก (ปราจีนบุรี); เม็ดชุน (นครศรีธรรมราช) ;เสม็ด (สกลนคร, สตูล);เสม็ด เขา, เสม็ดแดง (ตราด); เสม็ดชุน (ภาคกลาง); ยีมือแล (มลายู – ภาคใต้)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ :
ไม้พุ่มต้นไม่ผลัดใบ เปลือกต้นสีน้ำตาลแดง แตกสะเก็ดแผ่นบางๆ โคนต้นมักเป็นพูพอน
ใบ เป็นใบเดี่ยวออกตรงข้าม ใบรูปหอก ขอบใบเรียบ ปลายใบแหลม
ดอก ออกเป็นช่อซี่ร่มเล็กๆ สีเหลืองอ่อน ออกที่ปลายยอด ออกดอกเดือน มีนาคม-เมษายน
ผล กลม สีขาว มีขนาดเล็ก ออกผลเดือน พฤษภาคม-มิถุนายน
ส่วนที่ใช้ : ใบสด
เสม็ดแดง |
สรรพคุณและวิธีใช้ :
ทางยาสมุนไพร คือ น้ำมันจากใบ มีกลิ่นคล้ายการบูร เรียกว่า “น้ำมันเขียว” ใช้นวดแก้เคล็ด เมื่อย ปวดบวม แก้หมัด เหา ชุบสำลีอุดฟันแก้ปวดฟัน
ทางอาหาร คือ กินเป็นยาขับเสมหะ แก้หลอดลมอักเสบ ขับลม กินมากเป็นยาขับพยาธิ
ใช้ใบสด ตำป่นปิดพอกแก้เคล็ดยอก ฟกบวมได้ดี ใช้ผลมะกรูด หรือใบพลู รมควันใต้ใบเสม็ดพออุ่นๆ นาบท้องเด็กแก้ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อในเด็ก แก้ปวดท้องได้ดีมาก
ส่วนที่ใช้เป็นอาหาร ใบอ่อน ยอดอ่อนรับประทานเป็นผักสดกับน้ำพริก ลาบ ยำ รส เปรี้ยวใช้ทานกับขนมจีนหรือเป็นผักจิ้ม น้ำพริก นอกจากนี้ยังนำมาปรุงกับเครื่อง ปรุงต่าง ๆ เช่น ปลาร้า มะนาว ข้าวคั่ว หอมแดง พริก ฯลฯ คลุกเคล้าให้เข้ากัน ชิมรสตามชอบ เรียก ซุบผัก เม็ก
ผักเม็กมีรสฝาดปนเปรี้ยวนิดๆ ยอดสีขาวจะ อร่อยกว่ายอดสีแดง นิยมรับประทานกันมาแต่โบราณจนถึง ปัจจุบัน
ส่วนที่พึงระวัง สำหรับการรับประทานผักเม็ก คือ ในผักเม็กมีสารออกซาเลต (Oxalate) สูง หากรับประทานสดหรือรับประทานจำนวนมากอาจเสี่ยงต่อการเป็นนิ่วได้ ซึ่งแก้ไขโดยการรับประทานอาหารที่มีโปรตีนหรือประเภทเนื้อ